OpenPDPA

ถอดบทเรียนความเสียหายจากซีรีย์ Squid Game เมื่อใช้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ระมัดระวัง!

Squid game ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอื่น จนเกิดความเสียหาย
Picture of นาย วันพิชิต ชินตระกูลชัย​

นาย วันพิชิต ชินตระกูลชัย​

Chief Technology Officer (CTO)
Ragnar Corporation

แบ่งปันบทความดีๆ

เนื้อหาในบทความ

เบอร์โทรศัพท์จริง โผล่บนจอซีรีย์ ทำให้เจ้าของเบอร์เดือดร้อนหนัก!

        ปรากฎการณ์ความโด่งดังนาทีนี้ ต้องยกให้ “Squid game” หรือสควิดเกม เกมลุ้นตาย ซีรีย์เกาหลีที่ออก ฉายทาง Netflix ทั้งหมด 9 ตอน โดยคัดเลือกผู้เล่นที่สิ้นหวังกับปัญหาของชีวิตใน 456 คนมารวมตัวกัน เพื่อเล่นเกม ซึ่งผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 45.6 พันล้านวอน (ราว ๆ 129 ล้านบาทไทย)

SQUID GAME เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลส่วนบุคคล
ภาพจาก Netflix Thailand (https://www.youtube.com/watch?v=SzSH2VKK_vY)

          ซึ่งหลังออกอากาศไป Squid game ได้รับความนิยมจากคนดูทั่วโลก จนเกิดเทรนด์ใส่เสื้อผ้า รองเท้า หรือการละเล่นเกมในแต่ละด่านตามในซีรีย์ แม้แต่เนื้อหาภายในซีรีย์เองก็ถูกนำไปวิเคราะห์ทางวิชาการ หลากหลายแขนงถึงรายละเอียดดีเทล เล็ก ๆ น้อย ๆ จนทำให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันขึ้น

        เมื่อเบอร์โทรศัพท์ที่ปรากฎในนามบัตรเชิญชวนผู้เล่นเกมในซีรีย์ ดันเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่มีคนใช้งานอยู่จริง ซึ่งเป็นเบอร์โทรศัพท์ของหญิงสาววัย 40 ปี อาศัยอยู่ในเขตซองจู จังหวัดคยองซัง เธอบอกว่าหลัง Squid game ออกอากาศ เธอได้รับสายโทรศัพท์ และข้อความมากมายตลอดเวลา แทบไม่ได้หลับนอน จนถึงขั้น ต้องปิดโทรศัพท์ และกินยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ตนสามารถหลับได้สนิท

Netflix Sauid game โดนค่าเสียหายที่ไม่ควรเสีย
จาก Netflix Thailand (https://www.youtube.com/watch?v=SzSH2VKK_vY)

        ทางผู้จัดซีรีย์ Squid Game และ Netfilx ต่างยอมรับผิดและยินดีรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่ไม่ได้ตรวจ สอบเรื่องข้อมูลละเอียดอ่อน โดยเสนอเงินชดเชยจำนวน 5 ล้านวอน และตัดฉากที่มีเบอร์โทรศัพท์ดังกล่าว ออก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของเบอร์ในที่สุด

การใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลไม่ระมัดระวัง ความผิดพลาดที่บางครั้งแค่จ่ายเงินชดเชยอาจ ไม่จบ!

          ข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นข้อมูลเฉพาะที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลหนึ่งได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ข้อมูลส่วน บุคคลควรเป็นข้อมูลความลับที่เจ้าของข้อมูลไม่ควรเปิดเผยกับใครมากเกินความจำเป็น ขณะเดียวกัน หน่วยงานการบริการต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการไปก็ควรเก็บ ดูแล ใช้ และเปิดเผย อย่างระมัดระวังมากที่สุด

ความเสียหายที่เกิดขึ้นสามารถร้ายแรงขนาดไหน 

          การที่ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลหนึ่งหลุดไปอยู่บนพื้นที่สาธารณะ ตกไปอยู่ในมือของอาชญากรไซเบอร์ หรือถูกซื้อขายระหว่างธุรกิจโดยไม่ขออนุญาตกันก่อน

ผลที่ตามมาคือเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ถูกโทรก่อกวนใน ยามวิการ ถูกโทรเสนอขายสินค้าและบริการที่ไม่ต้องการ ถูกโจรไซเบอร์นำข้อมูลไปสวมรอยตัวตนทำเรื่อง ผิดกฎหมายและศีลธรรม หรือแม้แต่ถูกสืบหาที่อยู่ สะกดรอยตาม ลักทรัพย์ หรือข่มขืน ทำร้ายร่างกายได้

ในบริบทขององค์กร ถ้าจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ควรทำอย่างไร 

          อย่างที่ทราบดีว่า ในประเทศไทยเรามีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งระบุให้ หน่วยงานที่เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องดูแลรักษาส่วนบุคคลให้ปลอดภัยทุกขั้นตอน

          ดังนั้น เมื่อองค์กรจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้กับบริษัทพาร์ทเนอร์  หรือเปิดเผยใน สื่อสาธารณะทั่วไป เช่น ประกาศราลวัลผู้โชคดีร่วมสนุกกับองค์กร หรือแชร์รีวิวการใช้บริการของลูกค้า ในที่สาธารณะ องค์กรควรเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น และควรปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล บางส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ ผู้อื่นนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้โดยง่าย

เช่น เบอร์โทรศัพท์มือถือ ควรปกปิดตัวเลขบางส่วนไว้ 065-536-xxxx

สรุป

          อย่าลืมนะคะว่าการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่ระมัดระวัง ไม่เพียงแต่ทำให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเสีย หายเท่านั้น เพราะหากความเสียหายดังกล่าวกระทบต่อเจ้าของข้อมูลขั้นร้ายแรง เขามีสิทธิตาม PDPA ใน การร้องเรียน ทำให้องค์กรของเราต้องรับโทษความผิดทางอาญา แพ่ง และปกครองนะคะ

แบ่งปันบทความดีๆ

บทความอื่นๆ

กฎหมาย PDPA Thailand ข้อมูล
People
องค์กรคุณมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะผิดต่อกฎหมาย PDPA แบบนี้หรือไม่

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ พนักงาน หรือผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติอย่างไร แล้วเก็บข้อมูลได้มากแค่ไหนถึงไม่ผิดกฎหมาย วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ

ใบสมัครงานตาม-PDPA
People
ชี้แนะ HR ต้องรู้เกี่ยวกับ ใบสมัครงานตาม PDPA

ใบสมัครงานตาม PDPA เป็นเรื่องที่ฝ่าย HR หรือทรัพยากรบุคคลในทุกองค์กรต่างกำลังให้ความสนใจไปยังเรื่องนี้ เนื่องจากพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2565 ที่กำลังจะถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากองค์กรไหนไม่ปฏิบัติตาม อาจได้รับโทษทางกฎหมายทั้งจำทั้งปรับ และส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรในระยะยาวอีกด้วย การบังคับใช้ของกฎหมาย PDPA นี้ย่อมส่งผลต่อทุกแผนกในองค์กรที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ซึ่งฝ่าย HR ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพนักงานก็เช่นกัน และสิ่งหนึ่งที่เหล่า HR กังวลเป็นอย่างมากก็คือ กระบวนการเสาะหาพนักงาน ที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การทำใบสมัคร โดยวันนี้ทาง

Discover more from OpenPDPA

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading