OpenPDPA

ชี้แนะ HR ต้องรู้เกี่ยวกับ ใบสมัครงานตาม PDPA

ใบสมัครงานตาม-PDPA
Picture of นาย วันพิชิต ชินตระกูลชัย​

นาย วันพิชิต ชินตระกูลชัย​

Chief Technology Officer (CTO)
Ragnar Corporation

แบ่งปันบทความดีๆ

เนื้อหาในบทความ

ใบสมัครงานตาม PDPA เป็นเรื่องที่ฝ่าย HR หรือทรัพยากรบุคคลในทุกองค์กรต่างกำลังให้ความสนใจไปยังเรื่องนี้ เนื่องจากพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2565 ที่กำลังจะถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากองค์กรไหนไม่ปฏิบัติตาม อาจได้รับโทษทางกฎหมายทั้งจำทั้งปรับ และส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรในระยะยาวอีกด้วย

การบังคับใช้ของกฎหมาย PDPA นี้ย่อมส่งผลต่อทุกแผนกในองค์กรที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ซึ่งฝ่าย HR ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพนักงานก็เช่นกัน และสิ่งหนึ่งที่เหล่า HR กังวลเป็นอย่างมากก็คือ กระบวนการเสาะหาพนักงาน ที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การทำใบสมัคร โดยวันนี้ทาง Openpdpa จะมาแชร์สาระความรู้เกี่ยวกับ ใบสมัครงานที่ถูกกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูล ว่าเป็นอย่างไร และควรมีอะไรบ้างในใบสมัครนี้

มารู้จักประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลกันก่อนเริ่มทำใบสมัครงานตาม PDPA

ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลที่สามารถระบุ หรือบ่งบอกถึงตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม แต่ข้อมูลนี้ไม่รวมข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว หรือ ข้อมูลของนิติบุคคล เช่น บริษัท มูลนิธิ สมาคม องค์กร โดยข้อมูลส่วนบุคคลนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และ ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) หรือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน

PDPA_Personaldata

HR เก็บข้อมูลอะไร จาก ใบสมัครงานตาม PDPA ได้บ้างนะ

หลังจากที่รู้จักข้อมูลส่วนบุคคลไปเบื้องต้นแล้ว หลายท่านกังวลว่าจะเก็บข้อมูลผู้สมัครอย่างไรดีให้ถูกกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งทางเราขอแนะนำ HR ให้เก็บเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปอาทิ ชื่อ-นามสกุล อายุ ข้อมูลติดต่อ ประวัติการศึกษา และการทำงาน ส่วนหากต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวอาจจะต้องมี การขอความยินยอม หรือทำ Consent form เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บและใช้ข้อมูลส่วนนี้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

แล้วสิทธิ์ของผู้สมัคร ?! มีอะไรบ้างที่ HR ต้องพึงรู้

นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลผู้สมัครแล้ว การให้สิทธิ์เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แก่ผู้สมัครก็เป็นเรื่องที่ HR ต้องใส่ใจเหมือนกัน เพราะในใบสมัครต้องระบุไว้ชัดเจนว่าผู้สมัครมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรกับใบสมัครบ้าง อาทิ เพิกถอน, ขอเข้าถึง, ขอแก้ไข, ขอให้ลบ, ขอโอนย้าย, คัดค้าน, และขอระงับ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ทาง HR เก็บไปจากใบสมัคร ซึ่งถ้าทาง HR ไม่ได้ระบุในสิ่งนี้ ผู้สมัครอาจจะทำการฟ้องร้องทางองค์กรทำให้เกิดความเสื่อมเสียทั้งทางด้านทรัพยากรและชื่อเสียงได้

ทำ ใบสมัครงานตาม PDPA แล้ว ต้องทำ Privacy Notice ด้วย

นอกจากใบสมัครที่ต้องทำให้ถูกพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ควรมีการทำ ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) เพื่อให้ผู้สมัครรู้ว่า ทางบริษัทจะเก็บข้อมูลอะไร เก็บไปวัตถุประสงค์อันใดบ้าง สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล(ผู้สมัคร) ระยะเวลาในการเก็บ และรายละเอียดติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนนี้ เพื่อให้ผู้สมัครทราบถึงรายละเอียดการจัดเก็บข้อมูล

หากใครอยากทราบว่ากฎหมาย PDPA เกี่ยวข้องกับงาน HR ส่วนอื่น ๆ ได้อย่างไร สามารถติดตามได้ที่ PDPA for HR งานฝ่ายบุคคลฯ กับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

“อย่าลืม!! ทำลายข้อมูลผู้สมัคร หลังจากประกาศผลไปแล้วทันที” ด้วยความหวังดีจาก Openpdpa.org 

 

แบ่งปันบทความดีๆ

บทความอื่นๆ

Discover more from OpenPDPA

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading